กลไกสมอง
สมองที่เป็นผู้ใหญ่แล้วหนักประมาณ 1.36 กิโลกรัมหรือประมาณ 3 ปอนด์
ส่วนประกอบของสมอง มีเซลล์ประสาทถึงล้านเซลล์และมีอีกอย่างที่มากว่านั้นก็คือ "เกลีย" ซึ่งภาษากรีกแปลว่า"กาว" ซึ่งแทรกอยู่ระหว่างบรรดาเซลล์ทั้งหลาย และทำหน้าที่เกี่ยวกับการสื่อสารส่งผ่านข้อมูลไม่แพ้กับส่วนนอกของสมองที่เรียกว่า "Cerebral Cortex" ก็คือรูปสองหยักๆ เหมือนถั่วนั่นเอง และส่วนนอกของเซลล์สมองยังประกอบด้วยเซลล์ประสาทราวๆสามหมื่นล้านเซลล์ที่ถูกเชื่อมเข้าด้วย แกนแซลล์ประสาท ซึ่งมีจำนวนนับพันล้านหน่วย เป็นที่น่าอัศจรรย์เป็นออย่างมาก
เซลล์ประสาทแต่ละเซลล์สามารถสื่อสารกับเซลล์ใดก็ได้ ในจำนวนกว่าล้านเซลล์นี้ ด้วยวิธีการเชื่อมโยงเข้าหากันโดยตรงหรือก็ผ่านเซลล์อื่นซึ่งแต่ละเซลล์ก็อยู่ห่างกันไปเพียงเล็กน้อยเมื่อการเชื่อมโยงเกิดขึ้นได้จะเป็นความแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ หากเกิดขึ้นซ้ำบ่อยๆ ก็คงไม่ต่างจากนิสัยคน เช่นถ้าเราฝึกซ้อมเทนนิสทุกวันและถูกวิธี แน่นอนเราต้องเล่นดีขึ้นแน่ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเซลล์ประสาทของเราถูกเชื่อมโยงเข้าหากันในรูปแบบต่างๆ ที่ซ้ำกันบ่อยๆ นั่นเอง
คราวนี้มาดู "Cerebral Cortex" ซึ่งประกอบด้วยซีกของสมองส่วนใหญ่ทีมีสีเทา (Cerebrum) กับส่วนของสมองส่วนล่างซึ่งสองส่วนนี้เป็นส่วนที่มีเซลล์ประสาทมากที่สุด ผิวด้านนอกของสมองซึ่งหนาประมาณ 1/4 นิ้วนี้คือ 85 % ของเนื้อเยื่อสมองทั้งหมด มันประกอบไปด้วยผิวที่หยักและขดงอแบบที่เคยเห็นในภาพ รอยหยักนี้มีไว้รองรับการเกิดขึ้นใหม่ของผิวสมองด้านนอกโดยไม่ทำให้ขนาดหรือปริมาณของสมองเพิ่มแต่อย่างใด
สมองประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่ทำหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป เช่นรับรู้ภาพ เสียง สัมผัส และส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ส่วนด้านนอกซึ่งทำหน้าที่สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงการทำงานของสมองส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน เจ้าตัวที่ทำให้สามารถมองเห็น ได้ยิน ได้รับรส ได้กลิ่น ไปพร้อมๆกัน เช่นเดียวกับที่เรารู้สึกได้ครั้งที่รัปประทานอาหาร
ที่อยู่ใต้สมองส่วนนอกคือ กลุ่มของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการคลื่นไหว กลุ่มเซลล์เหล่านี้มีชื่อว่า Basal ganglia หรือถ้าพูดกันในภาษาคอมพิวเตอร์ "Cerebral Cortex" จะเขียนโปรแกรมควบคุมการคลื่นไหว หากเราใช้งานมันเป็น Basal ganglia ก็จะเข้ามารับช่วงต่อในการรับโปรแกรมที่ควบคุมการคลื่นไหวของเราเพราะมันเป็นตัวสั่งการโดยอัติโนมัติ
ส่วนหลังด้านล่างของสมอง คือ Cerebrum ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมการเคลื่อนไหว การทรงตัว และการทำงานร่วมกันของอวัยวะต่างๆ หากคุณชมลีลาของนักยิมนาสติก คุณจะได้เห็นการทำงานที่ ยอดเยี่ยมของ Cerebrum มันไม่ได้ควบคุมเฉพาะการทรงตัวและการทำงานร่วมกันของอวัยวะเท่านั้น แต่รวมไปถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นก่อนการเคลื่อนไหวต่างๆ ด้วย
เห็นได้ว่าส่วนต่างๆ ของสมองจะต้องทำงานสอดคล้องกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ เช่น คุณต้องการสั่งของ ความคิดนั้นสร้างตัวตรงกลีบสมองด้านหน้าซึ่งอยู่ถัดจากหน้าผากไปเล็กน้อย สื่อความคิดจะถูกส่งไปยัง Cerebrum ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยกับ Basal ganglia โดยเปลี่ยนความคิดเป็นการสั่งการ ตั้งแต่ตอนที่เรายกหูโทรศัพท์เพื่อสั่งของ รอจนของมา จ่ายเงินให้กับพนักงานที่มาส่งของ Cerebrum จะเป็นตัวกำหนดการเคลื่อนไหวอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย
Cerebrum ไม่ได้เป็นเพียงแค่ตัวควบคุมการเคลื่อนไหวเท่านั้น แต่มันยังทำหน้าที่ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอีกด้วย เช่นเมื่อคุณพยายามแก้ปัญหานึกชื่อคน หรือเพียงนั่งคิดเฉยๆ Cerebrum จะทำงานทันที่แม้จะไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายนึกถึงสิ่งที่คุณฝึกฝนจะสามารถช่วยกระตุ้นวงจรความคิดในสมองของคุณให้ทำงานและคงสภาพวงจรความคิดนั้นๆ ไว้ได้
ความคิดกับการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นพร้อมกันได้เพราะการทำงานคู่กันของ Cerebrum (ส่วนที่เป็นรอยหยักซึ่งอยู่ด้านบนของสมอง) กับ Cerebrum ความไวของความคิดกับความของการเคลื่อนไหวทำงานส่งเสริมกันไม่ได้แยกจากกัน
ความรู้สึกที่เรามีต่อสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นจากการทำงานของ Limbic System (ส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความรู้สึก) Limbic System เป็นชื่อเรียกสั้นๆ ของส่วนที่อยู่ภายในและใต้ Cerebrum ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของมันคือ Cingulate Gyrus ซึ่งอยู่เข้าไปในสมองส่วนหน้า
กิ่งก้านเซลล์ประสาท หรือ dendrite (มาจากภาษากรีกที่แปลว่าต้นไม้) ที่แตกแขนงไป มีหน้าที่ส่งผ่านข้อมูลจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังเซลล์หนึ่ง (คำว่า Arborization เป็นคำที่ใช้เรียกโครงสร้างที่มีรูปร่างคล้ายกิ่งก้านของต้นไม้ที่เกิดจากการเชื่อมต่อกันของเซลล์ประสาทกับกิ่งก้านทั้งหลายของมัน) เชลล์ประสาทแต่ละเซลล์อาจจะได้รับข้อมูลจากเซลล์อื่นนับพันผ่านทางกิ่งก้านของมัน การส่งข้อมูลไปยังเซลล์อื่นๆ นั้นต้องอาศัย แกนของเซลล์ประสาท จะยืดตัวไปยังจะหมายของมันคือ เซลล์อีกเซลล์หนึ่ง หากมีเซลล์ประสาทสองเซลล์ที่รับข้อมูลก็จะถูกเรียกว่า Postsynaptie เมื่อมีเซลล์มากกว่าหนึ่งคู่สื่อสารกันอยู่ โดยแยกจากันเพียงเล็กน้อย เราก็จะได้สิ่งที่เรียกว่า Synapse การสื่อสารจะถูกเปลี่ยนจากการปฏิกริยาทางไฟฟ้าเป็นเคมี ข้อมูลทางเคมีจะถูกปล่อยออกจากตัวส่งและกระจายออก เพื่อวิ่งเข้าหาตัวรับที่เหมาะสม สิ่งที่เราได้เรียนรู้โดยตลอดโครงการทางเคมีของมันได้ช่วยให้เราค้นพบวิธีการรักษาอาการป่วยทางจิต เช่น ความวิตกกังวล ความเครียด ยาที่ใช้รักษาอาการป่วยเหล่านี้ จะช่วยปรับสมดุลของตัวส่งและตัวรับข้อมูลใน Synapse การปรับสมดุลไม่จำเป็นต้องพึ่งยาเสมอไป เพราะเราสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรมก็พอ
ช่างฝันเลือกสิ่งที่คุณต้องการ
หากคุณไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าคุณต้องการอะไรในชีวิต ทุกสิ่งทุกอย่างก็คงต้องจบลง เพราะสิ่งนี้คือยุธศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อสิ่งมีชีวตมีเพียงคนเดียวที่ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตามมา และคนคนนั้นคือ คุณ!เพราะนี่เป็นเหตุผลแรกที่...ทำไมหลายๆ ต่อหลายคน..ถึงไปไม่ถึงเป้าหมายที่พวกเขาตั้งไว้ เป็นเพราะ
- ไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร
- ทำตามเป้าหมายไม่ถูกต้อง
- เป้าหมายไม่มีแรงจูงใจ
- พิจารณาสิ่งต่างๆ ไม่เพียงพอ
เมื่อคุณไปไม่ถึงเป้าหมาย คุณก็ไม่อาจไปสู่เส้นทางแห่งความสำเร็จได้ ส่วนคุณได้เพียงแค่หวังเท่านั้นความแตกต่างของเขากับคุณคือ การทุ่มเทความสนใจ ดังนั้น คุณต้องรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่คุณต้องการ หรือเส้นทางที่คุณจะมุ่งไป คุณจึงต้องทำตัวเป็นคนช่างฝัน เพื่อปลดปล่อยให้ตัวเองคิดและมองสิ่งต่างๆ รอบตัวให้มากขึ้นคุณจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดจากการเป็นคนช่างฝัน นั่นก็คือ การมีความคิดที่สร้างสรรค์ ปล่อยให้อิสรภาพแห่งจินตนาการของคุณค้นหาความคิด ทางเลื่อกที่แตกต่างและสร้างสรรค์กว่าเดิม ด้วยการ
- ใช้จินตนาการ คิดให้เห็นภาพ
- สร้างเรี่ยวราวขึ้นมา
- หลีกเลี่ยงการตัดสินใจต่อภาพที่เกิดขึ้น
- สนุกับกับการทดลอง
- เคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะ
- ทำตัวให้ผ่อนคลาย
- ทำความคิดให้ชัดเจน
- ให้ความคิดกลายเป็นจริง
การสร้างสรรค์ความคิดให้กลายเป็นความจริง เป็นการเปลี่ยนความคิดจากคนช่างฝันมาสู่ความจริง คุณต้องปรับความคิด และจิตใจต่อสิ่งที่คุณกำลังคิด คุณก็สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่ฝันให้กลายเป็นจริงได้โดยการ
- ตั้งคำถามเกี่ยวกับแนวทางและความคิดนั้น
- หาทางทำให้ง่ายที่สุด
- ตั้งคำถามและหาคำตอบ
- พิจารณามีสิงอันมาเพิ่มอีกหรือไม่
- อย่าด่วนตัดสินใจ
- คิดวิธีการที่จะทำให้มันได้ผล
- วิเคราะห์ ไตร่ตรองให้ดี
ตอนนี้คุณสามารถมองเห็นรายละเอียดที่คุณตอบรับ และอาจจะได้เห็นกับดักรอคุณอยู่ข้างหน้า ในบทของการวิเคราะห์ คุณอาจจะต้องเจอสถานการณ์สั่นคลอนบ้างแต่การวิเคราะห์เป็นสิ่งที่รับประกันว่าความคิดและการแผนงานที่วางไว้ มีความพร้อมมากยิ่งขึ้นได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด โดยเน้นไปที่รายละเอียดของทางออก กลไกลที่ดีและแนวทางที่นำมาใช้ได้ริง คุณต้องสร้างสภาพการวิเคราะห์ได้ด้วยการ
- ตั้งคำถามที่สำคัญ
- ถามตัวเอง "จะเกิดอะไรขึ้นถ้า..."
- ทำตามความคิด และหารายละเอีดเพิ่มเติม
- เรียนรู้มุมมองของผู้สังเกตการณ์
- ทดสอบจุดอ่อนและจุดแข็ง
- สร้างจุดแข็งมากว่าที่จะโจมตีความคิดหรือแผนการ
หากถ้าคุณเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ บางทีมันอาจช่วยให้คุณรอดพ้นจากสถานการณ์บางอย่าง คุณจะรู้ทันทุกสิ่งทุกอย่าง แต่คุณอาจถูกจำกัดความสร้างสรรค์และความสามารถของตัวเองในการที่จะเอื้อมคว้าดาว......
การเริ่มต้นจากการเป็นคนช่างฝันทำให้คุณไดพิจารณาความคิดที่เป็นไปได้เมื่อนำมารวบรวมกับการทำให้เป็นจริงและการวิเคราะห์คุณก็อยู่ในขั้นตอนที่ถูกต้อง ทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่า การเปลียนความฝันของคุณให้กลายเป็นความจริง มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง
การเริ่มต้นจากการเป็นคนช่างฝันทำให้คุณไดพิจารณาความคิดที่เป็นไปได้เมื่อนำมารวบรวมกับการทำให้เป็นจริงและการวิเคราะห์คุณก็อยู่ในขั้นตอนที่ถูกต้อง ทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่า การเปลียนความฝันของคุณให้กลายเป็นความจริง มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง
สมองของมนุษย์
สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังนี้
1. สมองส่วนหน้า (Forebrain) - มีขนาดใหญ่ที่สุด
มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก สามารถแบ่งออกได้อีกดังนี้
1.1 ออลเฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) อยู่ด้านหน้าสุด ทำหน้าที่ - ดมกลิ่น (ปลา,กบ และสัตว์เลื้อยคลานสมองส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออลแฟกทอรีบัลบ์จะไม่เจริญ แต่จะดมกลิ่นได้ดีโดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก
1.2 ซีรีบรัม (Cerebrum) - มีขนาดใหญ่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น การชิมรส แบ่งเป็นสองซีก แต่ละซีกเรียกว่า Cerebral hemisphere และแต่ละซีกจะแบ่งได้เป็น 4 พูดังนี้
- Frontal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การออกเสียง ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก พื้นอารมณ์
- Temporal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยิน การดมกลิ่น
- Occipital lobe ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น
- Parietal lobe ทำหน้าที่ควมคุมความรู้สึกด้านการสัมผัส การพูด การรับรส
1.3 ทาลามัส (Thalamus) - อยู่เหนือไฮโปทาลามัส ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปจุดต่างๆในสมอง รับรู้และตอบสนองความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการแสดงออกพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด
1.4 ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) - ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งจะทำการควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำและสารละลายในเลือด และยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก วงจรการตื่นและการหลับ การหิว การอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ
2. สมองส่วนกลาง (Midbrain) - เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตาทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตาจะเจริญดีในสัตว์พวกปลา กบ ฯลฯ ในมนุษย์สมองส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน
3. สมองส่วนท้าย (Hindbrain) ประกอบด้วย
3.1 พอนส์ (Pons) - เป็นส่วนของก้านสมอง ติดกับสมองส่วนล่าง ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และเป็นที่อยู่ของประสาทคู่ที่ 5,6,7,8
3.2 เมดัลลา (Medulla) - เป็นสมองส่วนท้ายสุด ต่อกับไขสันหลัง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น ไอ จาม สะอึก หายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น
3.3 ซีรีเบลลัม (Cerebellum) - อยู่ใต้เซรีบรัม ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
1.1 ออลเฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) อยู่ด้านหน้าสุด ทำหน้าที่ - ดมกลิ่น (ปลา,กบ และสัตว์เลื้อยคลานสมองส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออลแฟกทอรีบัลบ์จะไม่เจริญ แต่จะดมกลิ่นได้ดีโดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก
1.2 ซีรีบรัม (Cerebrum) - มีขนาดใหญ่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น การชิมรส แบ่งเป็นสองซีก แต่ละซีกเรียกว่า Cerebral hemisphere และแต่ละซีกจะแบ่งได้เป็น 4 พูดังนี้
- Frontal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การออกเสียง ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก พื้นอารมณ์
- Temporal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยิน การดมกลิ่น
- Occipital lobe ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น
- Parietal lobe ทำหน้าที่ควมคุมความรู้สึกด้านการสัมผัส การพูด การรับรส
1.3 ทาลามัส (Thalamus) - อยู่เหนือไฮโปทาลามัส ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปจุดต่างๆในสมอง รับรู้และตอบสนองความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการแสดงออกพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด
1.4 ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) - ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งจะทำการควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำและสารละลายในเลือด และยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก วงจรการตื่นและการหลับ การหิว การอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ
2. สมองส่วนกลาง (Midbrain) - เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตาทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตาจะเจริญดีในสัตว์พวกปลา กบ ฯลฯ ในมนุษย์สมองส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน
3. สมองส่วนท้าย (Hindbrain) ประกอบด้วย
3.1 พอนส์ (Pons) - เป็นส่วนของก้านสมอง ติดกับสมองส่วนล่าง ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และเป็นที่อยู่ของประสาทคู่ที่ 5,6,7,8
3.2 เมดัลลา (Medulla) - เป็นสมองส่วนท้ายสุด ต่อกับไขสันหลัง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น ไอ จาม สะอึก หายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น
3.3 ซีรีเบลลัม (Cerebellum) - อยู่ใต้เซรีบรัม ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย